ประวัติ หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ประวัติ หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ประวัติของพ่อปลื้ม เขมจิตฺโต วัดสังฆาราม อ.สรคคบุรี จ.ชัยนาท
ท่านมีนามเดิมว่าปลื้ม แย้มไผ่ เกิดที่บ้านวังไผ่ ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท ปีะเส็ง พ.ศ.2522 บิดาชื่อนายบุญรอด มารดาชื่อนางมะปราง นามสกุล แย้มไผ่ หลวงพ่อปลื้ม มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน
1.นายปลื้ม แย้มไผ่ ( หลวงพ่อปลื้ม)
2.นางบัว
3.นายสาหร่าย
4.นางขม
5.นายจัน
6.นางขำ
เด็กชายปลื้มตอนเด็กเป็นคนว่านอนสอนง่าย มีร่างกายแข็งแร็ง มีความขยัน และเป็นพี่คนโตที่ต้องทำงานหนักตามประสาเด็กบ้านนอกต้องดิ้นช่วยเหลือครอบครัว เช่นตัดฟืน ตักน้ำ และดูแลน้องๆและยังต้องเลี้ยงควายต้อนฝูงไปกินหญ้าข้างวัดบรมธาตุทุกๆวัน เห็นพระสงฆ์บิณฑบาตรผ่านก็ชอบใจ เลื่อมใสมาตั้งแต่เล็ก ต่อมาเด็กชายปลื้มได้เห็นความสลดใจ เมื่อเห็นควายตัวโปรดชื่อแก้วได้เป็นโรคท้องร่วงตายสมัยนั้นเรียกห่ากินควาย ด้วยบุญบารมีทำให้เด็กชายปลื้มเกิดความรู้สึกแตกต่างจากคนทั่วๆ ไปที่จะเกิดความรู้สึกนึกคิดได้แบบนี้ เข้าใจสังขาร เข้าใจธรรมชาติ รู้ที่มา รู้ที่ไป เริ่มที่จะทำความเข้าใจ ในหลักธรรมชาติ อันมีธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม และอริยะสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำให้เห็นแล้วก็ปลงว่า โอ้หนอชีวิตสัตว์โลกไม่เที่ยงหนอเราก็เหมือนกันไม่พ้นเวียนว่ายตายเกิดหากเราได้บวชเป็นพระเราจะไม่สึกจนกว่าจะสิ้นสังขารจะหาทางเข้าสู่นิพานตามพระพุทธองค์ หลวงพ่อปลื้มท่านตั้งสัจจะไว้ในครั้งนั้นพอเด็กชายปลื้มอายุ 13 ปี พ่อและแม่พาไปฝากที่วัดบรมธาตุวรวิหารกับหลวงพ่อพระครูเมธังกร(จู) ซึ่งตอนนั้น “หลวงพ่อช้าง” ยังเป็นพระใบฎีกาช้าง เด็กชายปลื้มได้บวชเณรตอนนั้นเอง พออายุของสามเณรปลื้มครบบวช ก็ได้บวชที่วัดบรมธาตุในเดือน 4 ปีมะโรง พ.ศ. 2443 พระอุปัชฌาย์ ชื่อพระอินทรโมลีศรีบรมธาตุบริหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์(หลวงพ่อช้าง) พระกรรมวาจาจารย์ชื่อพระวินัยธรคำตัสเถระ วัดบรมธาตุวรวิหาร พระอนุสาวาจาจารณ์ชื่อพระชัยนามุนี(หรุ่น) วัดมเห-ยงค์ ได้รับฉายา “เขมจิตฺโต”
เมื่อหลวงพ่อปลื้มบวชแล้วได้อยู่รับใช้พระอุปัชฌาย์อยู่ที่วัดบรมธาตุ 3 พรรษา ท่านได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานพร้อมเรียนภาษาบาลี ศึกษาวิชาอักขระอาคมกับหลวงพ่อช้าง เช่นคัมภีร์มูลกัจจายน์ธรรมบท (เป็นตำราเรียนพระปริยัติศาสนา อันทรงคุณค่ายิ่ง) และมงคลทีปนีเป็นตำรามงคล 38 ประการ ตลอด 3 พรรษา จนแตกฉาน สามารถแปลจากภาษาบาลีเป็นไทย และในพรรษาที่ 4 ได้ไปเรียนวิชาอักขระอาคม กับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าอยู่ 1 พรรษา เมื่อหลวงพ่อปลื้มกลับจากไปเรียนที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าแล้วก็ไปกราบลาหลวงพ่อช้างมาอยู่วัดฝางตรงข้ามกับบ้านโยมพ่อบ้านโยมแม่ในพรรษาที่ 6 หลวงพ่อปลื้มอยู่วัดฝางได้ 5 พรรษา รวมเป็น 10 พรรษา ในปี พ.ศ. 2453 ปีชวด หลวงพ่อปลื้มได้อยู่จำพรรษาที่ วัดสังฆราม เพราะชาวบ้านท่าระบาด เห็นว่าวัดหลวงตากลิ่นและหลวงตากลัด ไม่มีเจ้าอาวาส เมื่อหลวงพ่อปลื้มรับนิมนต์แล้ว ก็ได้มาอยู่วัดหลวงตากลิ่นและหลวงตากลัด หลวงพ่อปลื้มเลยรวมให้เป็นวัดเดียวกัน และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า“วัดสังฆาราม” จนตราบเท่าทุกวันนี้
พระอธิการธรรมสาโร หรือหลวงพ่อปลื้มเมื่อเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็เริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามขึ้น และได้บูรณะพระอุโบสถหลังเก่า เพราะเดิมที่เป็นเสาไม้หลังคาสังกะสีเปลี่ยนเป็นก่ออิฐถือปูนอย่างที่เห็นทุกวันนี้และได้สร้างหอพระไตรปิฎกขึ้นไว้เก็บหนังสือพระไตรปิฎกในปี 2482 พร้อมกับออกเหรียญรุ่นแรก ชื่อรุ่นพระไตรปิฎก เรื่องเกียรติศัพท์เกียรติคุณขจร ขจายไปทั้งชัยนาท มหาชนชาวอำเภอสรรคบุรี พากันสรรเสริญในบารมี สาธุการ ถึงบุญคุณสมบัติ จริยะสมบัติ และความเป็นพระอริยะสงฆ์ ที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อปลื้มท่านเป็นพระที่พูดน้อย แต่เวลาพูดเสียงดังฟังชัดทุกคำพูดมีเหตุมีผล ลูกศิษย์เกรงกลัวบารมีธรรมของท่าน จากคำบอกเล่าของนายเสมียน เกตุน้อย อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลข 188 ม.3 ต.เที่ยงแท้ อ.สรรคบุรี หนึ่งในลูกศิษย์เมื่อครั้งมีลิเกคณะหอมละออ มาปิดวิกที่วัดสังฆาราม ขันเงินล้างหน้าลิเกหายไป คณะลิเกได้ไปบอกหลวงพ่อปลื้ม ท่านจึงได้พูดไปว่า “ใครเอาขันลิเกไปให้เอามาคืนซะ” ในวันรุ่งขึ้นขันที่หายไปก็ปรากฏว่ากลับมาอยุ่ที่เดิม ได้สร้างความประหลาดใจให้กับชาวคณะลิเกหอมละออเป็นอย่างมาก
หลวงพ่อปลื้ม ท่านยังสนิทสนมกับหลวงพ่อโม วัดจันทนารามเป็นอย่างมาก ที่คนรุ่นเก่าๆ มักเห็นหลวงพ่อปลื้มและหลวงพ่อโม ฉันเพลร่วมกันเสมอๆ
หลวงพ่อปลื้มเป็นพระสมถะ เรียบง่ายไม่ยึดติดในทางโลก ท่านปล่อยวางในอามิสสิ่งของ เหลือไว้แต่ทางธรรมจนตราบเท่าชั่วอายุไขของท่าน
ช่วงท้ายชีวิตของหลวงพ่อปลื้มมรณภาพใน ปีพ.ศ.2496 รวมศิริอายุได้ 74 ปี พรรษา 53 ถ้านับช่วงที่เป็นสมภารวัดสังฆารามได้ 43 พรรษา