ประวัติ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน
หลวงปู่รอด ท่านมีเชื้อสายรามัญ เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ํา ปีกุน พ.ศ. 2406 เป็นบุตรของ นายทองดี และนางเกษม บุญส่ง คหบดีชาวรามัญ ตําบลบ้านบางโทรัด อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อเยาว์วัย บิดา-มารดาเห็นว่าเป็นเด็กขี้โรค อ่อนแอ จึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมพระอธิการแค เจ้าอาวาสวัดบางน้ําวน พระเกจิอาจารย์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาธรรมสูงและเข้มขลังในด้านเวทย์วิทยาคม ทําให้รอดจากอาการเจ็บป่วยและโรคต่างๆ จึงได้ตั้งชื่อว่า “รอด” ครั้นอายุ 12 ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้เริ่มเรียนอักขระและวิชา ความรู้ พร้อมเวทย์วิทยาคมจากพระอธิการแค ครั้นพ.ศ.2427 อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทสีมาวัดบางน้ำวน มีฉายาว่า “พุทธสณุโซ” โดยมีพระอธิการแค เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์แจ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พร้อมมีพระอาจารย์ปั้นเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมในด้านคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม วิชาทําตะกรุดมหาอุด วิชาทําผ้ายันต์บังไพรเป็นต้น ครั้นพระอธิการแคเห็นว่าได้ร่ําเรียนวิชาจนหมดสิ้นและแกร่งกล้าแล้ว จึงอนุญาตให้ออกธุดงค์ไปยังป่าดงดิบและ เข้าไปยังประเทศพม่าถึง 2 ครั้ง ซึ่งขณะธุดงค์นั้นได้เล่าเรียนวิชาอาคมต่อยอดจากคณาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่านโดยได้ธุดงควัตรไปยังสถานที่ต่างๆ เป็นเวลาหลายปี
ครั้นกลับจากธุดงค์จึงได้มาปรนนิบัติพระอธิการแค พระอุปัชฌาย์จวบจนกระทั่งพระอธิการแคมรณภาพ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น “พระครูรอด” พร้อมเป็นพระอุปัชฌาย์ชั้นพิเศษและเป็นเจ้าคณะตําบลตามลําดับ นอกจากจะมีความแก่กล้าในวิชาอาคมที่เข้มขลังแล้ว ท่านยังมีญาณหยั่งรู้เรื่องราวและกําหนดรู้วันเวลามรณภาพล่วงหน้า กล่าวคือในวันที่ท่านจะมรณภาพท่านได้เที่ยวไปลั้ลาญาติโยมขณะที่ท่านยังแข็งแรง มิได้ล้มหมอนนอนเสื่อแต่ประการใดตกกลางคืนท่านสรงน้ําครองจีวรใหม่คาดรัดประคตเรียกว่า “ทรงชุดใหม่” แล้วนอนชักจีวรขึ้นคลุม กําหนดอัตสาสะ ปัสสาสะ จนถึงมรณภาพ นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่ง ซึ่งมีพระภิกษุและฆราวาสน้อยคนนักที่จะละสังขารโดยมีสติและกําหนดรู้วันมรณภาพ หรือถึงแก่ความตายเช่นหลวงปู่รอดหลวงปู่รอดนอกจากเป็นพระภิกษุที่มีวัตรปฏิบัติที่ดีงาม เป็นคนเจ้าระเบียบและมีวิชาอาคมเข้มขลัง มีความรอบรู้ทางตําราแพทย์แผนโบราณและมีเมตตาธรรมรักษาชาวบ้านมาโดยตลอดแล้ว ท่านยังมีลักษณะพิเศษหลายประการ คือ
ดวงตาท่านวาวเหมือนดังกงจักร ในตารูปกลมใสดุจเพชรตาแมว ไม่มีใครกล้าจ้องมอง หรือเพ่งตากับท่านเพราะกล่าวกันว่านัยน์ตาท่านมีอํานาจซ่อนเร้นอยู่
ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับพระภิกษุที่มีคุณสมบัติครบถ้วน แต่ท่านจะไม่ยอมสึกให้กับพระภิกษุรูปใดเลย เพราะท่านถือว่าท่านบวชคนให้เป็นพระได้ แต่จะไม่ทําลายให้พระกลายเป็นคน
ท่านจะไม่ยอมลอดของต่ํา ในสมัยก่อนบ้านมักมีสองชั้น ชั้นล่างจะเป็นใต้ถุน ท่านจะไม่ยอมลอดใต้ถุนบ้านเด็ดขาด เวลาจะเข้าบ้านท่านจะให้ใช้บันไดพาดขึ้นทางหน้าต่าง
วัตถุมงคลหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จ.สมุทรสาคร
สําหรับวัตถุมงคลที่หลวงปู่รอดท่านสร้างนั้น กล่าวกันว่าก่อนที่ จะสร้างพระเครื่องท่านได้สร้างเครื่องรางของขลังต่างๆก่อน เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด ธง แผ่นยันต์ประทีป พระแม่โพสพ พระขรรค์ พิรอดแขน สําหรับเครื่องรางที่เล่นหากันมากในวงการเครื่องรางและเป็นมาตรฐานสากล คือ สิงห์ และชูชก ที่ท่านจะแกะด้วยแก่นขนุน ซึ่งเป็นไม้มงคลนามคือ “หนุน” มีอุปเท่ห์ว่าไปไหนก็จะมีแต่คนหนุนนําหรือ เกื้อหนุน อีกทั้ง “แก่น” คือส่วนที่แข็งแกร่งและอยู่ชั้นในสุด มีกากเปลือกและเนื้อไม้คอยป้องกันอุปเท่ห์จะรอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง ซึ่งราชสีห์ไว้ใช้ในทางตบะ มหาอํานาจและสร้างบารมี ส่วนชูชกไว้สําหรับให้คนอื่นเมตตา หรือจะไปเจรจาขอสิ่งใดๆ จากผู้ใด ดังจะเห็นได้จากชูชกที่สามารถขอกัณหา-ชาลี จากพระพุทธเจ้าและนางมัทรีได้โดยง่ายและชูชกแม้เป็นเฒ่าอัปลักษณ์แต่มีเมียสวยชื่ออมิตตา ซึ่งถือว่าท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่สร้างเครื่องรางชูชกเป็นรูปแรกและได้รับความนิยมกันมากในขณะนี้
ส่วนพระเครื่องนั้นท่านได้สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2466 เมื่อหลวงปู่รอดมีอายุครบ 60 ปี (5 รอบ) ตามคติความเชื่อของพระเกจิอาจารย์ของชาวรามัญว่าถ้าอายุยังไม่ถึง 60 ปีจะยังไม่สร้างพระเครื่องแจกศิษยานุศิษย์ และได้สร้างครั้งสุดท้ายใน พ.ศ.2482 โดยมีรายละเอียดดังนี้
เหรียญหล่อ พิมพ์สามเหลี่ยมพนมมือ สร้างเมื่อ พ.ศ.2466 ในวาระท่านสิริอายุได้ 60 ปี (5 รอบ) เพื่อแจกให้แก่ศิษยานุศิษย์ ด้านหน้าเป็นรูปพระสงฆ์ (ไม่มีเกศา) นั่งบนฐานบัวในท่าพนมมือ โดยกล่าวว่าเป็นรูปท่านที่สร้าง เพื่อบูชาคุณท่านพระอาจารย์แค พระอุปัชฌาย์ของท่าน แบ่งเป็น 2 พิมพ์คือ พิมพ์พนมมือ และพิมพ์ยกมือข้างเดียว ด้านหลังเรียบ บางองค์หลวงปู่รอดจารอักขระขอม เนื้อ โลหะผสม เนื้อเหลืองอมเขียว
เหรียญหล่อพิมพ์แจกแม่ครัว สร้างใน พ.ศ.2468 โดยนําเนื้อที่เหลือจากการหล่อเหรียญ พิมพ์สามเหลี่ยมพนมมือมาหล่อ เพื่อแจกให้กับแม่ครัวและอุบาสิกาที่อุปการะค้ำจุนวัดบางน้ำวน ด้านหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายพิมพ์พนมมือ แต่มีหูหล่อในตัว มีรูปพระสงฆ์ (ไม่มีเกศา) นั่งขัดสมาธิบนฐานบัวเม็ดสองชั้น พอมองเห็นหน้าตา ด้านหลังเรียบ บางองค์หลวงปู่รอด จารอักขระขอมเนื้อโลหะผสม ลักษณะออกเหลืองอมเขียว
เหรียญหล่อแซยิด พ.ศ.2477 เป็นเหรียญออกในงานทําบุญของหลวงปู่รอด สิริอายุได้ 72 ปี (6 รอบ) ด้านหน้าเป็นรูปจําลองหลวงปู่รอด นั่งวางมือสองข้าง อยู่บนหัวเข่า รูปเต็มองค์ครองจีวรพาดสังฆาฏิ ส่วนกลาง มีภาษาไทย 3 แถว ด้านข้างมีอักษรว่า “วัดบางน้ำวน” ด้านหลังเรียบ เนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง
เหรียญปั้มแซยิด พ.ศ.2477 ลักษณะเหมือนกับเหรียญหล่อ แตกต่างกันในรายละเอียดบ้างเล็กน้อยหลวง ปู่รอดปลุกเสกพร้อมกับเหรียญหล่อ สร้างเนื้อเดียว คือเนื้อทองแดง
เหรียญหล่อพิมพ์สี่เหลี่ยมแซยิด พ.ศ.2477 สะดุ้งมาร อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ด้านหลังเรียบ บางองค์หลวงปู่รอดลงเหล็กจารให้
เหรียญปั๊มเสมา เป็นเหรียญที่ศิษยานุศิษย์สร้าง ในคราวฉลองสมณศักดิ์ที่หลวงปู่รอดได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “พระครู” และเหรียญรุ่นนี้เมื่อท่านได้สร้างขึ้นแล้วก็ไม่ได้สร้างพระเครื่องขึ้นอีกเลย จึงอาจเรียกว่าเป็นเหรียญ “เลื่อนสมณศักดิ์” และเป็นเหรียญ “รุ่นสุดท้าย” ของท่านโดยด้านหน้าเป็นเหรียญทรงเสมามีหูในตัว มีรูปหลวงปู่รอดครึ่งองค์ ด้านล่างมีอักษร “พระครูรอต” ใช้ตัว “ต” สะกด ด้านหลังเรียบ มีอักษร 5 แถว 4 แถวบน เป็นอักษรขอม คําว่า “อระหัง ชัยยะ ยาวะเห อายอะ เย” แถวล่างสุดเป็นอักษรรามัญโบราณ สร้างด้วยเนื้อทองแดงและเนื้ออัลปาก้า